ค้นหารถ Mitsubishi มือสอง

โครง รถ คืออะไร สำคัญแค่ไหนกับรถยนต์ ?

Churai | 24 ก.ย 2564
โครง รถ หรือ โครงสร้าง รถยนต์ เป็นรากฐานที่สำคัญของรถยนต์จำเป็นต้องมีก็ว่าได้ หากเปรียบเทียบแบบง่าย ๆ ก็คือ เครื่องยนต์เปรียบเป็นหัวใจของคนเรา ตัวของโครงสร้าง รถยนต์ก็เหมือนกระดูกสันหลังนั้นเอง หากไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป ก็จะไม่สามารถเรียกว่าสิ่งนั้นเป็นรถยนต์ได้เลย ดังนั้นรถยนต์จำเป็นต้องมีโครงสร
โครง รถ หรือ โครงสร้าง รถยนต์ เป็นรากฐานที่สำคัญของรถยนต์จำเป็นต้องมีก็ว่าได้ หากเปรียบเทียบแบบง่าย ๆ ก็คือ เครื่องยนต์เปรียบเป็นหัวใจของคนเรา ตัวของโครงสร้าง รถยนต์ก็เหมือนกระดูกสันหลังนั้นเอง หากไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป ก็จะไม่สามารถเรียกว่าสิ่งนั้นเป็นรถยนต์ได้เลย ดังนั้นรถยนต์จำเป็นต้องมีโครงสร้าง โดยจะมีชื่อเรียกโครงสร้างนั้นว่า แชสซี (Chassis) หรือ เฟรม (Frame) ขึ้นอยู่ที่จะเรียกแบบไหนก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันวัสดุยอดนิยมที่นำมาทำโครง รถก็คือ แผ่นเหล็กรางตัวยู (U Channels) สองอันเชื่อมประกอบกันให้เกิดโครงสร้างเป็นรูปกล่อง (Box Construction) หรืออาจใช้หมุดย้ำก็ได้ และจะมีเหล็กขวาง (Cross Member) ก็ได้ ทั้งนี้ชนิดโครงรถ (Type of frame) จะมีอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม
  1. โครงรถแบบขั้นบันได (Ladder)

id="attachment_819" align="aligncenter"
แชสซีบันได โครงรถแบบนี้มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยม และมีการใช้เหล็กขวางเพิ่มในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้มีการวิเคราะห์มา โครงรถแบบนี้มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยม และมีการใช้เหล็กขวางเพิ่มในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้มีการวิเคราะห์มา เพื่อทำให้โครงรถมีความแข็งแรงนั้นเอง ซึ่งโครงแบบขั้นบันไดถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายสภาวะ และเป็นที่นิยมของรถประเภท 4WD (รถขับเคลื่อนสี่ล้อ) สำหรับโครงรถแบบขั้นบันได (Ladder) จะมีการพัฒนาต่อยอดออกไปตามรถยนต์รุ่นต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง เพื่อให้มีความสมบูรณ์ที่สุดนั้นเอง
  1. โครงรถแบบตัวเอ็กซ์ (X Frame)

เรียกได้ว่าการออกแบบเป็นไปตามชื่อ X Frame ก็ว่าได้ ซึ่งโครงรถจะใช้เหล็กตัวยูเชื่อมประกบเป็นรูปกล่อง ด้านหน้าจะมีเหล็กขวางยึดติดกับโครงรถไว้เพื่อยกระบบรองรับ และส่วนหลังจะสูงเพื่อให้เหมาะสมกับส่วนประกอบของเพลาท้าย และตรงจุดกลางเฟรมตัวรถจะมีการออกแบบให้มีท่อกลวงอยู่ เพื่อเป็นจุดผ่านของเพลาขับที่ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่เฟื่องท้ายนั้นเอง โครงรถแบบตัวเอ็กซ์ (X Frame) ถูกคิดค้นในปี 1957 และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนถึงในปี  1970 ความนิยมของรถยนต์ที่ใช้เฟรมตัวถังแบบนี้ก็หมดไป
  1. โครงรถแบบออฟเซท (offset)

ถือเป็นโครงสร้าง รถยนต์ที่พัฒนามาจากโครงรถแบบขั้นบันไดนั้นเอง แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่บางจุด คือจะมีเหล็กขวางเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทำให้โครงรถแข็งแรง โครงรถแบบนี้จะมีแผ่นเหล็กเชื่อมยื่นออกมาทางด้านข้าง เพื่อยึดกับตัวถังรถ
  1. โครงรถแบบออฟเซทและตัวเอกซ์ (Offset with cross member frame)

โครงสร้าง รถยนต์สุดท้ายก็คือแบบออฟเซทและตัวเอกซ์ โดยเป็นผสมกันขึ้นตามชื่อนั้นเอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับนำโครงรถแบบออฟเซทมา ในส่วนตรงกลางเปลี่ยนไปใช้เหล็กเชื่อมในลักษณะตัวเอ็กซ์ ซึ่งจะทำให้โครงรถแบบนี้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้าง ตัว ถัง รถยนต์ในท้องตลาดส่วนใหญ่ที่ทำตลาดอยู่ ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ โดยจะมีความแตกต่างกันพอสมควร ซึ่งโครงสร้าง รถยนต์แต่ละรูปแบบล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งานเป็นหลักเพียงเท่านั้น
  1. Frame type body (โครงสร้าง ตัว ถัง รถยนต์)

โครงสร้างชนิดนี้จะประกอบไปด้วยส่วนของ ตัวถัง และส่วนของโครงสร้าง ซึ่งใช้ติดตั้งชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง และบังคับเลี้ยว ในปัจจุบันแชสซียังได้รับความนิยมกับเหล่ารถกระบะ รถบรรทุก เป็นหลัก ส่วนรถเก๋งจะเลือกใช้โครงสร้างตัวถัง (Body) ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดของแชสซีอีกทีหนึ่ง
  1. Monocoque body (ส่วนประกอบ ตัว ถัง รถยนต์)

id="attachment_820" align="aligncenter"
ส่วนประกอบ ตัว ถัง รถยนต์ โครงสร้างชนิดนี้ประกอบไปด้วย ตัวถังและ โครงสร้างซึ่งรวมอยู่ในหน่วยเดียว โครงสร้างชนิดนี้ประกอบไปด้วย ตัวถังและ โครงสร้างซึ่งรวมอยู่ในหน่วยเดียว ตัวถังจะมีความทนทานเหมือนกล่องใบเดียวเดี่ยวๆ ไม่ว่ารถยนต์ของคุณจะใช้โครงสร้างอะไรแบบไหน เหล็กเฟรมหนาสักเท่าไหร่ ตลอดจนส่วนประกอบ ตัว ถัง รถยนต์จะเป็นแบบไหนก็ตามแต่ ให้คุณมั่นใจได้เลยว่าทางบริษัทรถยนต์มีการคิดคำนวณออกแบบมาอย่างดีมาก ๆ แล้ว ซึ่งคุณไม่ควรไปดัดแปลงให้เสียรถแต่อย่างใด เรียกว่ามาแบบไหนก็ใช้แบบนั้นไปนั้นเอง สิ่งเดียวที่คุณควรทำสำหรับโครง รถก็คือ หมั่นตรวจสอบสภาพโครงรถยนต์ว่ายังอยู่ในสภาพปกติอยู่รึไม่ ยกตัวอย่างเช่น รถเก่าที่มีอายุมากกว่า 20 – 30 ปี อาจต้องมีการตรวจดูความผุกร่อนของโครง รถว่าเสียหายไปขนาดไหน เพื่อทำการซ่อมบำรุงให้กลับมาใช้เคียงของใหม่ ตลอดจนกระบะบรรทุกหนัก ๆ อาจต้องตรวจเช็กว่าโครงสร้าง รถยนต์มีจุดไหนฉีกขาดเสียหายจากการบรรทุกหนักรึไม่ ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่ : https://mitsubishirakatook.com/
แท็ก โครง รถ